วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ศิลปิน Indy

ศิลปิน Indy

                             คราวนี้ผมจะมาพูดถึงศิลปินอินดี้ช่วงแรกๆที่ผมเคยฟังมาตั้งแต่เริ่มฟังเพลงอินดี้นะครับ เริ่มจาก

1.วง Armchair เชื่อว่าหลายๆคนคงรู้จักวงนี้ดีและเพลงแรกที่ทำให้คนรู้จักวงนี้ดีคือเพลง "รักแท้" นั่นเอง
                     สมาชิกตอนเริ่มก่อตั้งวงมี ทั้งหมด 5คน
- อนุสรณ์ มณีเทศ (โย่ง) ร้องนำ / กีต้าร์
- จตุตถพงศ์ รุมาคม (ผึ้ง) กีต้าร์
- พีระพล ลีละเศรษฐกุล (จ้อ) เบส / แซ็คโซโฟน
- อธิษว์ ศรสงคราม (อ้วน) คีย์บอร์ด / ฟลุต
- สมบัติ สวัสดิ์พานิช (ข่อย) กลอง / เพอร์คัสชั่น




2.วง พราว เป็นอีกหนึ่งศิลปินอินดี้รุ่นใหญ่ที่มาพร้อมแนวเพลงอัลเตอร์เนทีฟ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้คนหลายคนเลยทีเดียว
                        สมาชิกในวง
- ชัยบรรฑิต พืชผลทรัพย์ ( พิซซ่า ) Bass Guitar
- นิตินาท สุขสุมิตร ( แจ๊ค ) Guitar
- เจตมนต์ มละโยธา ( เจ ) Guitar
- สุรชัย กิจเกษมสิน ( เล็ก ) Vocal , Guitar


     3.วง อพาร์ตเมนต์คุณป้า  เป็นอีกหนึ่งศิลปินที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยครับเป็นอีกหนึ่งศิลปินรุ่นใหญ่ที่มีการผสมผสานดนตรีหลายแนวเข้าด้วยกันที่ผมชอบที่สุดวงหนึ่งเลย
                           
สมาชิกในวง                                
- ตุล ไวทูรเกียรต            (ตุล)         ร้องนำ
- ปิย์นาท โชติกเสถียร    (ปั๊ม)         กีต้าร์
- กันต์ รุจิณรงค์              (บอล)   กีต้าร์
- ภู่กัน สันสุริยะ               (ใหม่)   เบส
- ทรรศน์ฤกษ์ ลิ่มศิลา     (จ้า)         กลอง

เทศการดนตรี Fat festival

เทศการดนตรี Fat festival



                      คราวนี้ผมจะมาพูดถึงงาน เทศการดนตรีที่ผมคิดว่าเป็นงานใหญ่มากๆงานนึงซึ่งจัดมานานจนเป็นเหมือนประเพณีรวมตัวเด็กแนว นั่นก็คืองาน "Fatfest"

                      Fatfestival เป็นเทศกาลดนตรีในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดย สถานีวิทยุ 104.5 แฟตเรดิโอ เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ 1 - 2 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่โรงงานยาสูบเก่า เป็นจัดเป็นประจำเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน เดิมมีสปอนเซอร์หลักเป็นเบียร์ไฮเนเก้น ทำให้ใช้ชื่องานเทศกาลว่า "Heineken Fatfestival" แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงสปอนเซอร์ ทำให้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "Fatfestival" ในปัจจุบัน
ลักษณะของงาน จะเป็นเทศกาลที่มุ่งเน้นกิจกรรมทางดนตรีเป็นหลัก จัดขึ้นปีละครั้ง แต่ละครั้งจะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน คือวันเสาร์และอาทิตย์แรกหรือที่สองของเดือนพฤศจิกายน ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงเที่ยงคืน โดยเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดไปเรื่อยๆ ทุกปี
 
             แต่เมื่อมาถึง Fatfest ครั้งที่ 12 ซึ่งมีชื่อว่า The last Fatfest ก็เป็นการจัดงานนี้เป็นครั้งสุดท้าย โดยคุณจ๋อง พงศ์นรินทร์ อุลิศ (ประธานใหญ่ของ Fat) ได้แถลงข่าวไว้ว่า "เหตุผลในการเลิกก็ไม่มีอะไรมากครับ ในวันที่มีเทศกาลดนตรีเกิดขึ้นมากมายให้คุณเลือก เราจึงทำตัวอย่างให้ดูว่าแฟต เรดิโอต้องกล้าหาญพอที่เลิกจัด ทั้งๆที่มันเป็นงานที่เป็นหน้าตาของเรา และทำรายได้ให้เรามากที่สุดอีกด้วย ส่วนในเรื่องของรายละเอียดต่างๆของงานในปีนี้เรามีเวทีคอนเสิร์ต 5 เวทีจัดตามประเภทของเพลง นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้สำหรับงานแฟตเฟส ก็คือเวทีงานศิลปะที่เราขอรวมฮิตงานต่างๆที่เคยจัดแสดงในแฟต เฟสติวัลครั้งก่อนมาให้คุณได้ร่วมสนุกกันอีกครั้ง"   และก็ได้มีประกาศออกมาตามโซเชียลต่างๆด้วย

คลื่นเพลงอินดี้ Cat radio(Fat radio)

คลื่นเพลงอินดี้ Cat radio(Fat radio)


คราวนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับคลื่นเพลงที่ฮิทที่สุดของชาวอินดี้      
ซึ่งเชื่อว่าหลายๆคงคุ้นหูกันก็คือ "Fat radio" ในสโลแกนที่ว่า "โตๆมันๆ"สำหรับตัวผมเองที่ได้เริ่มฟังเพลงอินดี้ในไทยเหตุเพราะว่าเริ่มเบื่อเพลงดังๆในไทย ซึ่งช่วงนั้นตามคลื่นวิทยุของบ้านเรายังคงมีบางแบ่งค่ายเพลงของแต่ละคลื่นอยู่ ผมจึงอยากหาอะไรใหม่ๆฟังเพื่อเปิดโลกทางดนตรีให้กว้างขึ้น และผมก็ได้มาเจอกับคลื่น Fat radio ซึ่งมีเพลงแปลกๆ ดนตรีแปลกๆ และชื่อศิลปินต่างๆที่ผมไม่เคยได้ยินชื่อศิลปินเหล่านั้นตามคลื่นวิทยุต่างๆ มันทำให้ผมได้เปิดกว้างทางดนตรีมากขึ้น และผมก็เริ่มฟังบ่อยขึ้น ฟังจนแทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้เปิดไปฟังคลื่นอื่นเลย เพราะความแปลกและความหลากหลายทางดนตรีมันทำให้ผมไม่ได้รู้สึกเบื่อที่จะฟังคลื่นวิทยุคลื่นนี้เลย และเพราะ Fat ทำให้ผมเริ่มเล่นดนตรี ซึ่งตอนนั้นผมเองก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับดนตรีเลย แม้แต่คำว่า "เพลงอินดี้" เลยด้วยซ้ำ แต่ผมจะเรียกว่าเป็นเพลงนอกกระแส 



ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายใน Fat ตามความคิดของอาจจะเพราะเนื่องด้วยในยุคที่เปลี่ยนไปมี mp3 ที่หาโหลดได้มาฟังง่ายๆคนฟังวิทยุจึงน้อยลง Fat เองที่เป็นคลื่นวิทยุเล็กๆที่เป็นคลื่นทางเลือกก็อาจจะได้รับผลกระทบอย่างมาก มีผู้สนับสนุนที่น้อยลงทำให้เกิดปัญหาในด้านเงินทุน แต่ว่าทางคลื่นเองก็หาวิธีต่างๆเพื่อให้คลื่นได้คงอยู่ต่อไป ทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของและดีเจเองก็ยังอยากที่จะให้มีคลื่นวิทยุคลื่นนี้ต่อไปส่วนตัวผมเองก็รู้สึกว่าอยากให้มีคลื่นนี้ต่อไป เพราว่าผมไม่รู้ว่าจะสามารถติดตามข่าวสารและหาฟังเพลงอินดี้ที่ไหนได้ดีเท่าคลื่นวิทยุคลื่นนี้ จนทำให้เกิดการย้ายคลื่นเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน จาก 104.5 Fat radio มาเป็น 98 Fat radio แต่ว่าไม่นานคลื่น Fat ก็ต้องปิดตัวลงเนื่องจากปัญหาหลายๆอย่าง จนเหลือเพียงแค่ฟังทางออนไลน์เท่านั้น แต่ไม่นานการออกอากาศก็หยุดไปในวันที่ 25 ต.ค. 2556


แต่ไม่นานในวันที่ 1 เม.ย. 2557 Fat radio ก็ได้กลับมาแต่คราวนี้มาในนามของ "Cat radio" โตๆแมวๆ การกลับของคลื่นวิทยุคลื่นนี้ ยังคง เป็น ทีมงาน และ ดีเจ เกือบทั้งของผู้ที่ทำ Fat radio แต่ว่าช่องการรับฟังไม่ได้ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 24 ชม. แต่จะออกอาศทาง

www.thisiscat.com

 ฟังออลไลน์ 24 ชั่วโมง และ ทางวิทยุทุกวัน 20.00น.-24.00น. ที่คลื่น 94.5 

ประวัติและความเป็นมาของวงการเพลงอินดี้ไทย

ประวัติและความเป็นมาของวงการเพลงอินดี้ไทย







ก่อนยุคอินดี้บูมครั้งแรกในปี 2537 ค่ายเพลงไทยสากลโดยรวม เน้นแนวกลางๆ ฟังง่ายๆ เหตุผลหนึ่งคือต้นทุนการผลิตเพลงสมัยนั้นสูงมาก ค่าเช่าห้องบันทึกเสียงและอุปกรณ์ราคาแพง การผลิตเพลงจึงเป็นของค่ายเพลงใหญ่ ซึ่งมีการกำหนดแนวเพลง ให้กับศิลปินนักร้อง 

เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้า ต้นทุนการผลิตเพลงถูกลง จึงเป็นโอกาสให้กับค่ายเพลงใหม่ๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนเล็ก ที่มีความรักเสียงเพลง แต่ไม่มีเงินทุน สามารถคิด และสร้างสรรค์งานเพลง แตกต่างกับกระแสหลักมากขึ้น กลายเป็นทางเลือกใหม่ ด้วยความเบื่อหน่ายในเพลงกระแสหลักที่สะสมไว้มานาน ความนิยมของผู้ฟังจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ศิลปินนักร้องผู้มีความรู้ความสามารถทางดนตรีใน “แนว” ที่ตนถนัด จึงเริ่มมีสิทธิมีเสียงขึ้นมา พัฒนาไปจนถึงการเป็นเจ้าของค่ายเพลงเล็กๆ 

รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของค่ายเพลงอินดี้ ที่โลดแล่นอยู่กับคลื่นลมเหล่านี้มาตั้งแต่ต้น เขาเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งและเป็นมือเบสวง “Crub” ออกอัลบั้มชุด “View” ในปี 2537 บุกเบิกแนวเพลง brit-pop ของอังกฤษในไทย จนมาเป็นฐานะเจ้าของค่ายต้นสังกัดของวง “สี่เต่าเธอ” ที่โด่งดังในยุคอินดี้บูมครั้งแรก 

ต่อมารุ่งโรจน์ก่อตั้งบริษัท Small Room ในปี 2542 มุ่งงานรับทำเพลงโฆษณา แตกมาเป็นเพลงขายเป็นอัลบั้มตามร้านทั่วไป เช่นวง Armchair ซึ่งบางเพลงได้รับคัดเลือกไปวางจำหน่ายในระดับนานาชาติ รวมถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น “เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล” ของ เป็นเอก รัตนเรือง 

ในขณะที่ค่ายเพลงใหญ่ๆ สร้างระบบการทำงาน โดยแยกบทบาทชัดเจนระหว่างรูปแบบ ศิลปินเดี่ยว วง นักดนตรี นักแต่งเพลง รูปแบบอินดี้ได้เข้ามาทำให้การแบ่งแยกเหล่านี้น้อยลง แต่ดูจะไม่เคยมีครั้งใดที่บทบาทเหล่านี้จะถูกหลอมรวมเข้าหากัน เท่ากับที่ Monotone Group ทำอยู่ 

Monotone Group เกิดขึ้นจากการที่กลุ่มคนทำเพลงเป็นงานอดิเรกส่งขึ้นโชว์ตามเว็บไซต์ บ้างก็เพิ่งจบปริญญาตรี บ้างก็กำลังเรียนอยู่ ได้มาพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต นำมาซึ่งการนัดเจอและแนะนำเพื่อนต่อกันไปจนรวมกันเป็นกลุ่มนักดนตรีที่ทำด้วยใจรัก โดยไม่มีใครเป็นนักดนตรีอาชีพ และไม่มีใครเรียนจบด้านดนตรี 

Monotone Group เริ่มมีชื่อเสียงจากการออกอัลบั้ม “This Is Not A Love Song” ในปี 2545 ซึ่งมีผู้มีส่วนร่วมนับสิบๆ คน เสมือน “ชมรมดนตรี” ที่ผลิตงานเพลงมาขึ้นอันดับความนิยมในสถานีวิทยุได้ ย้อนกลับไปตั้งแต่หลังความสำเร็จในชุดแรกได้ไม่นาน Monotone Group ได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ Be Quiet ขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือในการรับงานต่างๆ ส่วนการจัดจำหน่ายเพลงก็มอบให้ ค่าย Blacksheep ภายใต้บริษัท Sony Music BEC Tero ดูแล 

Small Room : “The Next Indy Leader ?” 

ออฟฟิศของ Small Room ตั้งอยู่ ณ มุมหนึ่งของชั้นล่างศูนย์การค้าเล็กๆ ริมถนนเอกมัย บรรยากาศทั้งสำนักงานและห้องบันทึกเสียงตกแต่งอย่างสวยงามราวกับร้านกาแฟ พนักงานราว 5 คนแต่งตัวกันตามสบายต้อนรับเราเข้าพบกับ “พี่รุ่ง” รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ ในชุดกางเกงยีนส์เสื้อยืด บอกเล่าชีวิตที่ฝ่าคลื่นลมในวงการเพลงไทยในห้องรับแขกติดกับสวนหย่อมเล็กๆ 

เริ่มต้นอย่าง “ศิลปินอินดี้”… 

รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ มีใจรักดนตรีจากการที่คุณพ่อส่งเสริมให้สมาชิกในบ้านชอบฟังเพลงและเล่นดนตรียามว่าง จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง แต่หันเหไปชอบดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ รุ่งโรจน์บอกเล่าความรู้สึกกับงานสถาปนิกว่า “ผมเกลียดงานเขียน draft ถ้ากินเครื่องดื่มชูกำลังสองขวดแล้วให้มา draft งานผมจะหลับได้ทั้งคืน แต่ถ้าให้ทำเพลงผมสามารถไม่นอนสองคืน” 

ช่วงปี 2537 รุ่งโรจน์นำบทเพลงที่แต่งขึ้นเอง ออกตระเวนเสาะหาค่ายเพลงที่มี sound engineer ที่ช่วยให้ “ซาวด์” ของเพลงเป็น “แบบฝั่งอังกฤษ” อย่างที่เขาหลงใหลและจินตนาการไว้อย่างละเอียด มาตรฐานที่เขาตั้งไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ทำให้ต้อง “อยู่หลายที่ ย้ายไปเรื่อย” ด้วยเหตุผลหลักว่า sound engineer ของแต่ละค่ายนั้นยังไม่สามารถช่วยให้เขาสร้างซาวด์ในใจนั้นได้ แม้แต่ค่ายเพลงใหญ่ๆ ด้วยระบบของการจัดศิลปินให้ลง “กรอบ” เป็นอุปสรรคต่อความต้องทำเพลงที่เฉพาะเจาะจง 

ในที่สุดเขาก็ได้พบกับค่ายที่ต้องการและออกอัลบั้ม “View” มาในนามวง “Crub” ใช้เวลาผลิตงาน 4 เดือน ขายได้ 2 หมื่นชุด ซึ่งไม่คุ้มทุน เพราะในยุคนั้นต้นทุนการผลิตงานเพลงสูงกว่าปัจจุบันมาก “รู้สึก fail มาก” คือความรู้สึกในช่วงนั้น 

สู่เส้นทางเจ้าของค่ายเพลง… 

ปี 2537 ด้วยการเป็นหุ้นส่วนร่วมก่อตั้งค่ายเพลงอินดี้ชื่อ Boop Record ออกอัลบั้มของวง “สี่เต่าเธอ” ในช่วงที่กระแสเพลงอินดี้เริ่มบูมในไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งรุ่งโรจน์เผยว่าเป็นชุดที่ขายดีชุดหนึ่ง แต่จากนั้นรุ่งโรจน์ก็ “เจ๊ง” อีกถึงสองครั้ง ด้วยเหตุผลเรื่องของ ค่าเช่าห้องอัด 4 แสนเข้าไปแล้ว ยังไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ 

ทำไมต้อง “Small Room” ?… 

ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการทำเพลงราคาถูกเกิดขึ้น รุ่งโรจน์เปิดบริษัทใหม่อีกครั้ง ในชื่อ Small Room ครั้งนี้มุ่งหารายได้หลักไปที่การรับทำเพลงประกอบโฆษณา และครั้งนี้เขาต้องปรับตัวเองครั้งใหญ่ให้ฟังเพลงและทำเพลงได้หลากหลายแนวเพื่อรองรับโจทย์ของลูกค้า 

ที่มาของชื่อ Small Room คือเมื่อแรกตั้งนั้น พื้นที่สำนักงานส่วนใหญ่ถูกใช้จัดเป็นสวนหย่อมอย่างสวยงามและเหลือพื้นที่ส่วนน้อยเท่านั้นไว้เป็นสำนักงานและห้องบันทึกเสียง ธุรกิจรับทำเพลงประกอบโฆษณาบริษัทดำเนินไปได้ดี แต่รุ่งโรจน์ก็ยังต้องการทำธุรกิจค่ายเพลงอีกครั้ง แต่คราวนี้เขาเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการนำเสนอใหม่ทั้งหมด 

Small Room 001 บุกเบิกและเรียนรู้… 

อัลบั้ม Small Room 001 ออกจำหน่ายในปี 1999 รุ่งโรจน์เล่าว่าอัลบั้มนี้เป็นต้นแบบของหลายๆ อย่างในวงการเพลงไทย เช่นการนำเอาเพลงใหม่ของศิลปินรายละ 1 – 2 เพลงมารวมกัน มีการใช้นามแฝง ซึ่งรูปแบบนี้ปัจจุบันพบได้ในหลายอัลบั้มของค่ายอื่นๆ 

อัลบั้ม 001 นี้ใช้การทำเพลงด้วยอุปกรณ์เชิงคอมพิวเตอร์ ซึ่งเขาเรียกรวมว่าเป็น “harddisk recording” รุ่งโรจน์เปิดเผยว่าใช้งบเพียง 45% ของอดีตสมัยที่ต้องเช่าห้องอัดเสียง 

รุ่งโรจน์ตัดสินใจผลิตอัลบั้มชุดนี้ออกมาเป็นเทป 1 หมื่นม้วน กับ CD 1 พันแผ่น ผลปรากฏว่า CD ขายหมดอย่างรวดเร็ว แต่เทปกลับเหลือจำนวนมากจนทำให้ขาดทุน อาจนับได้เป็นตัวอย่างของศิลปินทำธุรกิจ ซึ่งแม้จะเป็นธุรกิจด้านเพลงแต่ก็ต้องอาศัยข้อมูลและประสบการณ์ที่ “คนทำเพลง” อย่างเขายังขาดอยู่ 

Small Room 002 ท้าทายค่ายใหญ่… 

ขณะนั้นกระแสความนิยมในศิลปินประเภทอินดี้เริ่มกลับมา รุ่งโรจน์ย้อนเล่าว่าเริ่มมีเสียงวิจารณ์จากค่ายใหญ่ๆ ว่าถึงที่สุดแล้วกระแสอินดี้บูมรอบสองนี้ก็คงจะจบไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับครั้งแรก คำพูดเหล่านี้ทำให้รุ่งโรจน์ “รู้สึกถูกท้าทาย” อย่างแรง ใน Small Room 002 นอกจากคุณภาพเพลงแล้ว เขาได้ทุ่มทุนทำปกซีดีให้สวยงามซับซ้อนด้วยแรง “ฮึด” ที่จะท้าทายค่ายใหญ่ๆ 

อัลบั้ม 002 นี้เปิดตัวในงาน Fat Festival ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เริ่มต้นยุคอินดี้บูมครั้งที่สอง และอัลบั้มนี้ก็ประสบความสำเร็จด้านยอดขาย 

คิดแบบ Small Room… 

Small Room มุ่งค้นหา “ตัวตน” ของศิลปินอย่างจริงจังโดยเฉพาะรสนิยมการฟังเพลง ประเด็นนี้รุ่งโรจน์มองว่าค่ายใหญ่ค่อนข้างออกไปทางคล้ายโรงงานที่มีกรอบอยู่แล้ว และพยายามหาพยายามจับศิลปินมาใส่กรอบนั้น 

และก่อนจะติดสินใจผลิตอัลบั้มหนึ่งๆ รุ่งโรจน์จะมองหาคู่แข่งมาฟังวิเคราะห์ เปรียบเสมือนการส่งนักมวยขึ้นชกเลยทีเดียว 

นอกจากนี้ ในขณะที่ค่ายแบบอินดี้หลายค่ายเน้นการเดินสายแสดงสด เพื่อชดเชยที่ไม่ได้ออกสื่อมวลชน Small Room กลับไม่เน้นการแสดงสด รุ่งโรจน์ให้เหตุผลว่า “อยากให้น้องๆ ศิลปินได้เอาเวลาไปคิดไปแต่งเพลงทำเพลงให้ดีที่สุด ไม่ใช่เอาเวลามาทุ่มฝึกซ้อมการแสดงบนเวที” 

ปัญหาอุปสรรคของอินดี้ และของ Small Room… 

ปัญหาที่ Small Room ประสบมาตลอดจนถึงปัจจุบันนั้น รุ่งโรจน์สรุปว่าข้อแรกคือ “งานเยอะกว่าคน” เขาสำทับว่า “พี่อยากให้น้องๆ ในออฟฟิศทุกคนได้มีเวลาไปเที่ยวกับแฟน มีเวลาให้ครอบครัวกันมากๆ” 

ต่อมาคือการ “QC” หรือควบคุมคุณภาพเพลงจากนักร้องนักดนตรีในสังกัดซึ่งมักจะไม่ชอบถูก QC แต่รุ่งโรจน์ได้ย้ำว่า “เพลงที่จะออกขายเป็นพาณิชยศิลป์ จะต้องผ่านการ QC” 

กระแสอินดี้กลับมาบูมแล้ว จะยั่งยืนหรือไม่ ?… 

ยุคที่อินดี้บูมครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ที่ค่ายเพลงทั้งใหญ่เล็กออกผลงานศิลปินโดยวางตำแหน่งเป็นอินดี้กันเยอะเกินไป ขาดการกลั่นกรองว่าอะไรดีไม่ดี หลายชุดทำออกมาหยาบๆ ไม่มีไอเดียใหม่แต่เอามา “ติดตราอินดี้” เกาะกระแส ผู้ฟังจึงหมดศรัทธา 

ส่วนการกลับมาในช่วงหลังนี้ รุ่งโรจน์สรุปว่าเริ่มจากการที่ “พี่เต๊ด” ยุทธนา บุญอ้อม เปิด Fat Radio และจัดงาน Fat Festival ครั้งแรกขึ้นในปี 2544 อีกทั้งบรรดาศิลปิน ค่ายเพลง และผู้บริโภคเองก็ได้ “เรียนรู้และปรับตัว” ทุกสิ่งเป็นระบบขึ้น ไม่ใกล้เคียงกับความ “แบกะดิน” แบบครั้งก่อน 

ทัศนะว่าด้วย “เด็กแนว” 

กับการบูมของอินดี้ครั้งที่แล้ว รุ่งโรจน์สังเกตว่า มีการแต่งตัวเลียนแบบศิลปินบ้าง แต่ไม่ “art” เท่าปัจจุบัน ซึ่งแต่งได้ออกมาสวยงามน่าดูกว่ามาก นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือก็เข้ามามีส่วนกับไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นค่อนข้างมาก ซึ่งก็เป็นความพยายามของทางธุรกิจโทรศัพท์มือถือเองด้วยที่จะเกาะติดไลฟ์สไตล์วัยรุ่น 

เมื่อมองถึงอนาคตของกระแส “เด็กแนว” รุ่งโรจน์เชื่อว่าจะอยู่ได้นาน “เด็กอัลเทอร์” (วัยรุ่นที่ชอบเพลงแนว alternative ซึ่งโด่งดังในยุคต้นทศวรรษ 90’s หรือ 2533) ก็ได้เติบโตขึ้นมาทำงานในภาคธุรกิจต่างๆ มีส่วนผลักดัน “เด็กแนว” ในปัจจุบันให้เติบโตไปสืบทอดความเป็นวัยรุ่นในยุคหน้าต่อไป

(ที่มา:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=173286)

ความหมายของคำว่า Indy หรือ Indie


ความหมายของคำว่า Indy หรือ Indie




                          คำว่า Indy หรือ Indie มาจากคำว่า Independent ซึ่งแปลว่า อิสระ แน่นอนว่าไม่ได้ใช้แค่กับเพลงเท่านั้นรวมไปถึง การแต่งตัว ความคิด ศิลปะ และอีกหลายๆอย่าง แต่ในที่นี้เราจะมาพูดถึงและทำความเข้าใจกับเพลงอินดี้กัน
                       
                          เพลงอินดี้ หลายคนมักเข้าใจผิดว่า เพลงอินดี้คือแนวเพลง แต่ในความเป็นจริงนั้นเพลงอินดี้ไม่ใช่แนวเพลง แต่เป็นเพลงที่เกิดขึ้นมาโดยการ ทำเพลงด้วยตัวเองอย่างมีอิสระ ออกมาจากตัวตนผู้ทำ ไม่ตามกระแส เพราะฉะนั้น เพลงอินดี้เป็นได้ทั้งเพลง Pop Rock Jazz Hiphop และอีกหลายๆแนวเพลง